วันมาฆบูชาดื่มเหล้าได้ไหม เช็กกฎหมายห้ามขายวันใด-ฝ่าฝืนมีโทษอย่างไร

“วันมาฆบูชาตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยจะร่วมกันทำบุญตักบาตร ไหว้พระ เวียนเทียน และการถือศีล ในวันพระใหญ่ด้วยเหตุนี้จึงมีกฎหมายห้ามขายเหล้า รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดในวันมาฆบูชาด้วย และหากพบว่ามีการทำผิดจะมีโทษ

วันนี้ ทีมข่าวนิวมีเดีย พีพีทีวี จึงได้รวบรวมข้อทุกข้อมูลในเชิงศาสนาและทางกฎหมายเกี่ยวกับการดื่มและซื้อขายเหล้าในวันสำคัญทางศาสนามาฝากทุกคนกัน!

วันมาฆบูชา กินเหล้าผิดหลักศาสนา ส่วนการขายเหล้าผิดกฎหมาย

ตามที่มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง “กำหนดวันห้ามขายเครื่องแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558” ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 ระบุว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬบูชา วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา ยกเว้นการขายเฉพาะร้านค้าปลอดอากรภายในอาคารท่าอากาศยานนานาชาติ”

รวมถึงยังมี พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มาตรา 32 ระบุอีกว่า“ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม”

เว้นแต่การโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ใด ๆ ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทสามารถทำได้เฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม โดยไม่มีการปรากฎภาพของสินค้า หรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เว้นแต่เป็นการปรากฎของภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นเท่านั้น

ประกอบกับความเชื่อทางพุทธศาสนา วันมาฆบูชานับว่าเป็นวันพระใหญ่ ซึ่งชาวพุทธส่วนใหญ่จะงดเว้นจากการทำผิดศีล 5 ที่มีการงดดื่มสุราอยู่แล้ว ดังนั้นสรุปได้ว่าวันมาฆบูชาไม่ควรดื่มเหล้าเพราะอาจผิดหลักศาสนา ขณะที่การขายเหล้านั้นผิดหลักกฎหมาย เว้นแต่กรณีการซื้อในร้านค้าปลอดอากรภายในท่าอากาศยาน

ห้ามขายเหล้าวันใดบ้าง

นอกจากนี้ ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว ยังสรุปได้อีกว่า วันสำคัญทางพุทธศาสนาใน 5 วันดังต่อไปนี้ ร้านค้าหรือผู้ใดก็ตามจะไม่สามารถขายเหล้าได้

  • วันมาฆบูชา
  • วันวิสาขบูชา
  • วันอาสาฬบูชา
  • วันเข้าพรรษา
  • วันออกพรรษา

หากฝ่าฝืน มีโทษทั้งจำทั้งปรับ

หากผู้ใดฝ่าฝืนขายเหล้า จะถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มาตรา 39 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

และหากทำผิดในเรื่องการโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ใด ๆ ในกฎหมาย พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. 2551 หมวด 7 บทกำหนดโทษ มาตรา 43 ระบุไว้ว่า ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 32 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ทั้งนี้ ถ้าพบเห็นการกระทำผิดร้องเรียนได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422 หรือ สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โทร.02 590 3342

ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานกิจการยุติธรรม และ สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์

ขอบคุณภาพจาก : สำนักงานกิจการยุติธรรม และ Freepik

บ.ดอยแม่สลอง ออกประกาศหลัง "มอส ละครคุณธรรม" ถูกสืบนครบาลจับกุม

หลายฝ่ายจับพิรุธ หลังรัสเซียไม่คืนร่าง “นาวาลนี"

 วันมาฆบูชาดื่มเหล้าได้ไหม เช็กกฎหมายห้ามขายวันใด-ฝ่าฝืนมีโทษอย่างไร

สามี รับสารภาพใช้หินทุบหัว “น้องนุ่น” นำศพไปทิ้งที่ปราจีนบุรี

You May Also Like

More From Author